จากการวิเคราะห์คลอโรฟิลล์จากพืชกว่า 6,000 ชนิด ทั้งจากใต้น้ำถึงบนพื้นดิน พบว่า พืชที่ให้คลอโรฟิลล์บริสุทธิ์และดีที่สุด คือ อัลฟาฟ่า(alfalfa) เท่านั้น
อัลฟาฟ่า(alflafa) จัดเป็นพืชจำพวกที่มีฝัก (Legumes) หรือพืชตระกูลถั่ว ใบเลี้ยงคู่และมีระบบรากที่มหัศจรรย์มาก ในบางพื้นที่ระบบรากของอัลฟาฟ่าสามารถชอนไชลงไปในดินถึงกว่า 130 ฟุต จึงทำให้สามารถหาอาหารได้มีประสิทธิภาพมากกว่าพืชชนิดอื่น ๆ อีกทั้งระบบการป้องกันตัวเอง หรือป้องกันสารพิษในเซลล์ของพืชอัลฟาฟ่าก็ดีกว่าพืชชนิดต่าง ๆ ชาวอาหรับโบราณรู้จักใช้ประโยชน์จากอัลฟาฟ่ามาตั้งแต่ 2,000 ปี ก่อนคริสตกาล โดยใช้เป็นพืชเลี้ยงสัตว์และใช้ใบมาตากแห้งชงเป็นชาบริโภค จึงถูกขนานนามให้เป็น AL-FAS-FAH-SHA
หรือ “ราชาแห่งอาหารทั้งมวล” ประโยชน์จากต้นอัลฟาฟ่า(alflafa) มักได้จากส่วนใบและลำต้น ซึ่งได้ถูกนำไปใช้สำหรับบำบัดอาการปวดข้อและอักเสบต่าง ๆ เช่น ปวดข้อ (ARTHRITIS) ไปจนกระทั่งถึงความผิดปกติในระบบทางเดินอาหารและเซลล์ในตับถูกทำลาย นอกจากนี้ยังเชื่อกันว่า อัลฟาฟ่า ยังสามารถช่วยให้เลือดสะอาดขึ้น
อัลฟาฟ่า(alfalfa) เป็นพืชที่ให้กรดอะมิโนจำเป็ฯครบทั้ง 8 ชนิด ซึ่งได้แก่ กรดอะมิโนไอโซลิวซีน ลิวซีน ไลซีน เมไธโอนีน พีนิลอะลานีน เทรโอนีน ทริปโตฟาน และวาลีน และพบว่ากรดอะมิโนเหล่านี้ร่างกายของเราไม่สามารถสร้างเองได้ แต่จำเป็นต้องมีไว้เพื่อใช้ประโยชน์ในการสร้างเนื้อเยื่อต่าง ๆ นอกจากนี้ในอัลฟาฟ่ายังอุดมไปด้วยวิตามินเอ บี6 ดี อี เค เกลือแร่ฟอสฟอรัส โปแตสเซียม และแคลเซียม
คลอโรฟิลล์ (CHLOROPHYLL) เกือบ 100 ปี แห่งการค้นพบ
คลอโรฟิลล์ คือสารประกอบที่ทำให้พืชมีสีเขียวและทำหน้าที่หลัก คือ สังเคราะห์แสง (Photosynthesis) โดยการเปลี่ยนพลังงานจากแสงอาทิตย์ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และแร่ธาตุต่าง ๆ จากดินให้กลายเป็นสารอาหารที่จำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตของพืช รวมทั้งให้ก๊าซออกซิเจนที่สำคัญอย่างยิ่งในการดำรงชีวิตของมนุษย์และสัตว์ คลอโรฟิลล์ธรรมชาติมีหลายชนิด บางชนิดสังเคราะห์แสงได้ในที่ที่มีแสงแดดเท่านั้น แต่บางชนิดสังเคราะห์แสงได้แม้ในที่ไม่มีแสง เช่น ในร่างกายของคน จึงมีการค้นคว้าเกี่ยวกับการทำงาน หรือปฏิกิริยาของคลอโรฟิลล์ต่อคน พบว่า คลอโรฟิลล์ที่อยู่ในเซลล์ของพืชทั่วไปจะถูกปกป้องและปิดกั้นด้วยผนังหรือเยื่อหุ้มเซลล์อีกทีหนึ่ง ทำให้ระบบย่อยอาหารปกติของร่างกายเราไม่สามารถบดย่อย เพื่อให้ได้สารคลอโรฟิลล์เพียงพอกับความต้องการของร่างกายได้ ถึงแม้ว่าเราจะบริโภคผักใบเขียวเป็นจำนวนมากอย่างไรในแต่ละวันก็ตาม อีกทั้งคลอโรฟิลล์โดยตัวมันเองละลายน้ำไม่ได้ จะละลายได้ในไขมัน หรือในบางรูปของแอลกอฮอล์เท่านั้น แต่ด้วยเทคโนโลยีในปัจจุบัน เราสามารถสกัดเอาเฉพาะสารคลอโรฟิลล์ออกมาได้อย่างสมบูรณ์และบริสุทธิ์ โดยปราศจากการสูญเสียคุณค่าทางอาหารตามธรรมชาติ ร่างกายจึงสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทันทีอย่างเต็มที่ และเป็นคลอโรฟิลล์ชนิดละลายน้ำได้ จึงดูดซึมได้ทันทีในกระเพาะอาหาร ในกรณีที่ร่างกายใช้ไม่หมด จะถูกขับทิ้งไปทางระบบขับถ่าย ไม่สะสมไว้ในร่างกาย ผิดกับคลอโรฟิลล์ชนิดที่ละลายในไขมัน จะไม่ถูกดูดซึมที่กระเพาะอาหาร แต่จะย่อยและดูดซึมที่ลำไส้เล็ก คลอโรฟิลล์ชนิดนี้เมื่อร่างกายใช้ไม่หมด จะถูกส่งต่อไปสะสมไว้ที่ตับ (liver) ในระยะเวลาหนึ่ง อาจเกิดอันตรายต่อตับได้ องค์การอาหารและยาสหรัฐจึงให้การรับรองเฉพาะคลอโรฟิลล์ที่ละลายน้ำได้ (WATER SOLUBLE CHLOROPHYLL) เท่านั้น ว่าปลอดภัยต่อการบริโภคของคน ถึงแม้ว่าจะบริโภคในปริมาณมากต่อวัน ก็ไม่เกิดผลเสียต่อร่างกายแต่อย่างใด ผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นก็มีเพียงอาการท้องเสียอย่างเบาบางกรณีเท่านั้น
ด้วยสูตรโครงสร้างของโมเลกุลที่ใกล้เคียงกับโมเลกุลของเม็ดเลือดแดง ต่างกันเฉาะตรงกลางที่คลอโรฟิลล์มีแมกนีเซียม(Mg) และเม็ดเลือดแดงมีเหล็ก (Fe) จึงทำให้สีของมันต่างกัน คือ คลอโรฟิลล์มีสีเขียว แต่เม็ดเลือดมีสีแดง จากจุดนี้เองที่ทำให้คลอโรฟิลล์ถูกเรียกว่า “เลือดของพืช” (Blood of Plant) ผลการวิจัยทางวิทยาศาสตร์การแพทย์มากมาย สรุปตรงกันว่า คลอโรฟิลล์สามารถกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดงได้ จนทำให้ผู้วิจัยได้รับรางวัลโนเบล (Nobel Prize) ไปแล้วถึง 2 ท่านด้วยกัน คือ ดร.ริชาร์ด วินสเตตเตอร์ (DR.RICHARD WINSTATER) ศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยออสเตรีย ในปี ค.ศ.1915 และ ดร.ฮันส์ ฟิชเชอร์ (DR.HANS FISHER M.D.) นายแพทย์ชาวเยอรมัน ในปีค.ศ. 1930 ผู้ซึ่งค้นพบความสัมพันธ์ระหว่างเม็ดเลือดแดงและคลอโรฟิลล์
ในบางเงื่อนไขสามารถแทนที่ศูนย์กลางของคลอโรฟิลล์ด้วยเหล็ก (Fe) จากอาหารธรรมชาติบางประเภท ทำให้อัตราการเพิ่มของเม็ดเลือดแดงดีขึ้น ทั้งนี้แมกนีเซียม (Mg) ที่หลุดออกไปจากศูนย์กลางโมเลกุลของคลอโรฟิลล์ ก็จะทำหน้าที่พาแคลเซียม (Ca) 2Ca-Mg เข้าไปอุดรูพรุนกระดูกต่าง ๆ ทำให้กระดูกแข็งแรงขึ้นในโพรงกระดูกซึ่งมีไขกระดูก (Bone Marrow) อยู่ ก็จะมีการสร้างเม็ดเลือดแดงได้ในปริมาณที่มากขึ้น (หน้าที่ของไขกระดูก คือสร้างเม็ดเลือดแดงและปรับระดับความเป็นด่างในกระแสเลือด) จากากรทำวิจัยขององค์การอาหารและยาสหรัฐกับผู้ป่วยแผลเปิด จำนวน 3,600 ราย พบว่า คลอโรฟิลล์ช่วยกระตุ้นให้มีการสร้างเซลล์ใหม่ให้เร็วขึ้น ทำให้แผลหายเร็วกว่าปกติ 25% ขึ้นไปและรอยแผลเป็นลดขนาดลงกว่า 50% หรือมากกว่า จากกรณีนี้ จึงมีการวิจัยต่อเกี่ยวกับการรักษาอาการเจ็บป่วยภายในร่างกายอันเป็นสาเหตุของการเกิดกลิ่นอันไม่พึงประสงค์ขึ้น พบว่าผู้ป่วยทั้ง 1,227 ราย กลิ่นภายในหายหมดหลังจากใช้คลอโรฟิลล์ผ่านไป 2 สัปดาห์ จึงให้การรับรองว่าเป็นยาดับกลิ่นภายใน สามารถซื้อขายได้ตามร้านขายยาและอาหารเสริม ตั้งแต่ วันที่ 11 พฤษภาคม 1990
คลอโรฟิลล์ ช่วยคุณได้อย่างไร
จากประสบการณ์ของผู้ใช้-ผู้บริโภคทั่วโลก ได้ข้อสรุปที่น่าสนใจของคลอโรฟิลล์ ดังนี้
ช่วยให้เลือดสะอาด
ช่วยให้ตับสะอาด เสริมการรักษาในผู่ป่วยตับอักเสบ
เสริมธาตุเหล็กให้ร่างกาย
ทำให้สดชื่น หายเหนื่อยจาการอ่อนเพลีย
ลดความดันโลหิต ลดปัญหาเส้นเลือดหัวใจตีบตัน
ทำให้ระดับน้ำตาลลดลงสำหรับคนไข้โรคเบาหวาน
บรรเทาอาการโรคภูมิแพ้ แพ้อากาศ โรคหืด ผื่นลมพิษ ค่อย ๆ ทุเลาจนหายได้
ขับกรดจากข้อต่าง ๆ ทำให้อาการปวดข้อ ปวดเมื่อยตามตัวทุเลาและหายได้
ขับสารพิษออกจากร่างกาย สารตกค้างของยาปฏิชีวนะ สารเคมีตกค้างในอาหาร ทำให้ร่างกายมีภูมิต้านทานดี สุขภาพแข้งแรง สดชื่นขึ้น
ป้องกันและระงับการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งและช่วยเพิ่มเซลล์เม็ดเลือดแดง
แก้ปัญหาคนท้องผูก ขับถ่ายดีขึ้น ริดสีดวงทวารทุเลาและหายได้
ดับกลิ่นตัว กลิ่นปาก กลิ่นเท้า โดยเฉพาะผู้ชายที่ใส่ถุงเท้าแล้วเหม็น
แก้ปัญหาอาการชา บวมและส้นเลือดขอดให้ทุเลาลงได้
ชะลอความแก่ ทำให้มีอายุยืน
ยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย ใช้รักษาแผลอักเสบ แผลเปื่อย แผลเรื้อรัง แผลถลอก แผลไฟไหม้ เหงือกอักเสบ แผลในปาก คออักเสบ โดยใช้ผงคลอโรฟิลล์โรยบนแผล จะทำให้แผลหายเร็ว
บรรเทาอาการปวดศีรษะทั่วไป ปวดศีรษะไมเกรน
ช่วยแก้ปัญหาเรื่องโรคกระเพาะ ลำไส้อักเสบ ช่วยสมานแผล
แก้ปัญหาเรื่องสิว ฝ้า ปวดประจำเดือน ประจำเดือนมาไม่ปกติ
ควบคุมน้ำหนัก ลดน้ำหนัก คลอเรสเตอรอลในเลือด
มีผลต่อสุขภาพตาในคนที่เป็นต้อกระจก ทำให้การมองเห็นดีขึ้น
มีสารอาหารบำรุงเส้นผม ทำให้เส้นผมหงอกดำขึ้น ช่วยลดอาการผมร่วง
ลดอาการเมาค้าง
ได้ทดลองกับผู้ป่วยโรคเอดส์ เมื่อรับประทานคลอโรฟิลล์เข้าไปแล้ว ทำให้ร่างกายของผู้ป่วยมีระดับภูมิคุ้มกันดีขึ้นเป็นลำดับ
Reference
1.Bohne C.et ol: Interaction of enzyme-generate species with chlorophyll-alpha and probe bound to serum albumlns (Photochem Photobiol, 1988 Sep) (MEDLINE) 2.Acheson DW, et al : Dianostic delay due to chlorophyll in oral rehydration solution (letter) (lancet, 1987 Jan 17) (MEDLINE) 3.Chemomorsky SA,et al : Biological actives of chlorophyll derivative, (N J Med, 1988 Aug) (MEDLINE) 4.Hooper JK, et al : Photodynamic sensitizers from chlorophyll : purin-18 and chiorin p6 (Photochem Photobiol, 1988 Nov) (MEDLINE)
Tuesday, April 29, 2008
อัลฟาฟ่า(Alfalfa) “ราชาแห่งอาหารทั้งมวล”
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment